บทความฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อช่างที่มีเครื่องมือสำหรับกู้ข้อมูลโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นการกู้ข้อมูลทางกายภาพ หมายความว่าต้องงัดแงะออกมาเพื่อจะกู้ข้อมูลนั่นเอง
แล้วทำไมต้องลงทุนกู้ขนาดนี้ด้วย ? ในเมื่อแฟลชไดร์ฟก็ราคาไม่กี่บาท
ในบางครั้งเราอาจมีความจำเป็นต้องกู้ข้อมูลบางอย่าง เพราะมันสำคัญจริงๆ ในแฟลชไดร์ฟของเรา ไม่ได้แบกอัพเอาไว้ก่อน และในนั้นก็มีไฟล์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้งาน ทำให้เราไม่มีทางเลือก
การกู้ข้อมูลระดับนี้ ต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก และที่สำคัญต้องมีเครื่องมือด้วย เพราะฉะนั้นใครที่ต้องการกู้ด้วยวิธีนี้แต่ไม่มีเครื่องมือก็หมดสิทธิ์ครับ
แฟลชไดร์ฟที่นำมากู้ในคลิปนี้ เป็นแฟลชไดร์ฟ Sandisk ครับ ซึ่งโครงสร้างภายในก็เหมือนกันเกือบทุกๆ แฟลชไดร์ฟนั่นแหละครับ สำหรับช่างท่านใดจะนำไปกู้กับแฟลชไดร์ฟยี่ห้ออื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน
อาการของแฟลชไดร์ฟที่นำมากู้นะครับ คือเสียบแล้วมองไม่เห็นอะไรเลย ไม่ตอบสนองอะไรเลยครับ เสียบแล้วนิ่ง ทางภาษาคอมเขาเรียกว่า ไม่เรสปอนด์ (Respond)
เนื่องจากว่า ไม่เรสปอนด์ เราจึงไม่สามารถใช้โปรแกรมอะไรได้เลยในการกู้ข้อมูลไงครับ ก็เลยต้องพึ่งช่างที่มีเครื่องมือ และมีความชำนาญการเป็นพิเศษ
ไอเดียของการกู้ข้อมูลในครั้งนี้ คือ นำแฟลชไดร์ฟใหม่ เปลี่ยนกับแฟลชไดร์ฟที่เสียหาย โดยการสลับชิ้นส่วนที่เรียกว่า “USB mass storage controller device” และ “Flash memory chip” ผมจะขอเรียกมันว่า “Controller” และ “Chip” แล้วกันครับ
ถ้าเป็นมนุษย์ก็คือ เปลี่ยนอวัยวะกันนั่นแหละครับ แต่เราจะเปลี่ยนแค่ 2 อย่างคือ ตัวควบคุม (Controller) และ ชิพ (Chip)
อุปกรณ์ที่เราจะต้องใช้ในการกู้ข้อมูลมีดังนี้
- หัวแรงค์
- น้ำยาฟลั๊ก
- เครื่องยกชิพ หรือ เครื่องเป่าลมร้อน
- ลวดซับตะกั่ว
- ทินเนอร์สำหรับการเช็ดล้างทำความสะอาด
- ตะกั่วบัดกรี
- แหนบใช้สำหรับหยิบจับชิ้นส่วน
เมื่ออุปกรณ์ได้แล้ว ก็มาดูวิธีกันเลยครับ คลิปวิดิโอนี้ผมตัดต่อมาจากของคลิปของต่างประเทศนะครับ เอามาอธิบายเป็นภาษาของผมเอง อันนี้ก็ขออนุญาตจากทางเจ้าของคลิปไว้เรียบร้อยแล้วครับ ^^
ผมจะขออธิบายขั้นตอนคร่าวๆ ไว้ว่า
เราจะเปลี่ยนเอา controller ออกจากบอร์ดของแฟลชไดร์ฟ โดยการทาน้ำยาฟลั๊กบนขอบของ chip แล้วใช้เครื่องเป่าลมร้อนทำความร้อนเพื่อให้ chip หลุดออกจากบอร์ด ทั้ง controller และ chip ก็ทำนองเดียวกันครับ
จากนั้นนำ controller และ chip ออกจากแฟลชไดร์ฟตัวใหม่ ด้วยวิธีเดียวกัน แล้วนำ controller และ chip ตัวเก่า ใส่ในบอร์ดตัวใหม่นั่นเอง ด้วยวิธีการวางชิพ ขั้นตอนนี้ต้องใช้ลวดซับตะกั่วช่วยหน่อยนะครับ ถ้าใครไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่อย่าให้ตะกั่วมันเลอะไปหมดเท่านั้นเอง
เมื่อวาง controller และ chip เรียบร้อยแล้ว ก็เช็ดล้างทำความสะอาดด้วยทินเนอร์สักหน่อยนะครับ
แล้วทดลองเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับคอมเพื่อแบกอัพข้อมูลต่อไปครับ
รายละเอียดจะอยู่ในคลิปนะครับ
Credit : recovery
Pingback: ฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟ แล้วขึ้นข้อความ “Windows was unable to complete the format” – flashdriveddblog